หูกับการได้ยิน

       หูเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่ทำหน้าที่ทั้งการได้ยินเสียง และการทรงตัว หูของคนแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือหูส่วนนอก หูส่วนกลางและหูส่วนใน
ดังภาพที่ 8-38

ภาพที่ 8-38 โครงสร้างของภายในของหูคน



       หูส่วยนอก ประกอบ ด้วยใบหูและช่องหูซึ่งนำไปสู่หูส่วยกลางใบหูมีกระดูกอ่อนค้ำจุนอยู่ ภายในหูมีต่อมสร้างไขมาเคลือบไว้ทำให้ผนังช่องหูไม่แห้ง และป้องกันอันตรายไม้ให้แมลงและฝุ่นละออง

เข่าสู่ภายใน ต้านการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ เมื่อมีมากจะสะสมกลายเป็นขี้หูซึ่งจะหลุดออกมาเอง จึงไม่ควรให้ช่างตัดผมแคะหูให้ เพราะอาจเป็นอันตราย ทำให้เยื่อแก้วหูขาดและกลายเป็นคนหูหนวก ตรงรอยต่อระหว่างหูส่วนนอกกับหูส่วนกลาง มีเยื่อบางๆกั้นอยู่เรียกว่า เยื่อแก้วหู  (ear drum หรือ tympanic membrane) ซึ่งสามารถสั่นได้เมื่อได้รับคลื่นเสียง เช่นเดียวกับหนังหน้ากลองเมื่อถูกตีหูส่วนนอกจึงทำหน้าที่รับคลื่นเสียงและ เป็นช่องให้คลื่นเสียงผ่าน   

               หูส่วนกลาง มีลักษณะเป็นโพรง ติดต่อกับโพรงจมูกและมีท่อติดต่อกับคอหอย ท่อนี้เรียกว่า ท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube)ปกติท่อนี้จะตีบ แต่ในขณะเคี้ยวหรือกลืนอาหารท่อนี้จะขยับเปิดเพื่อปรับความดัน 2 ด้านของเยื่อแก้วหูให้เท่ากัน นอกจากนี้เมื่อความดันอากาศภายนอกลดลงหรือสูงกว่าความดันในหูส่วนกลางอย่างรวดเร็ว ความแตกต่างระหว่างความดันอากาศภายนอกและภายในหูส่วนกลางอาจทำให้เยื่อแก้ว หูถูกดันให้โป่งออกไป หรือถูกดันเข้า ทำให้การสั่นและการนำเสียงของเยื่อแก้วหูลดลง เราจะรู้สึกว่าหูอื้อ หรือปวดหู จึงมีการปรับความดันในช่องหูส่วนกลางโดยผ่านแรงดันอากาศบางส่วนไปทางท่อยู สเตเชียน นอกจากนี้ภายในหูส่วนกลางประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกค้อน (milieus) กระดูกทั่ง (incurs) และกระดูกโกลน (stapes) ยึดกันอยู่เมื่อมีการสั่นสะเทือนเกิดขึ้นที่เยื่อแก้วหูจะถ่ายทอดมายัง กระดูกค้อนและกระดูกทั่ง ทำให้กระดูกหู 2 ชิ้นนี้เคลื่อนและเพิ่มแรงสั่นสะเทือนและส่งแรงสั่นสะเทือนนี้ต่อไปยัง กระดูกโกลนเพื่อเข่าสู่หูส่วนในต่อไป คลื่นเสียงที่ผ่านเข้ามาถึงหูส่วนในจะขยายแอมพลิจูดของคลื่นเสียงเพิ่มจากหู ส่วนนอกประมาณ 22 เท่า

 รู้หรือเปล่า

หูของคนปกติสามารถรับฟังเสียงที่มีความถี่ของเคลื่อนเสียงตั้งแต่ 20-20,000เฮิร์ตซ์ ขณะที่สัตว์บางชนิด เช่นสุนัขสามารถรับคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงกว่านี้ได้หูของค้างคาวสามารถ รับเคลื่อนเสียงที่มีความถี่สูงมาก



        หูส่วนใน ประกอบด้วย โครงสร้างที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน2 ชุด คือ ชุดที่ใช้ฟังเสียงและชุดที่ใช้ในการทรงตัว

        ชุดที่ใช้ฟังเสียง อยู่ทางด้านหน้าเป็นท่อที่ม้วนตัวลักษณะคล้ายก้นหอย ประมาณสองรอบครึ่ง เรียกว่า <b>คอเคลีย</b> (cochlea) ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่ เมื่อคลื่นเสียงผ่านเข้ามาจนถึงคอเคลียจะทำให้ของเหลวภายในคอเคลียสั่น สะเทือน ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นกระแสประสาท โดยกระตุ้นเซลล์เสียงให้ส่งกระแสประสาทไปยัง<b>เส้นประสาทรับเสียง</b> (auditory nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 เพื่อเข้าไปสู่สมองส่วนเซรีบรัมที่เป็นศูนย์ควบคุมการได้ยินเพื่อจะแปลผลต่อไป

       ชุดที่ใช้ในการทรงตัวอยู่ ด้านหลังของหูส่วนใน ทำหน้าที่รับรู้เกี่ยวกับการเอียงและการหมุนของศีรษะตลอดการทรงตัวของร่าง กาย มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม 3 หลอดวางตั้งฉากกันเรียกว่า เซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล (semicircular canal) ภายในหลอดมีของเหลวบรรจุอยู่ ที่โคนหลอดมีส่วนโป่งพองออกมา เรียกว่าแอมพูลลา (impala) ภายในมีเซลล์ความรู้สึกที่มีขน (hair cell)ซึ่ง ไวต่อการไหลของของเหลวภายในหลอดทีเปลี่ยนแปลงตามตำแหน่งของศีรษะและทิศทาง การวางตัวของร่างกาย ขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหวจะกระตุ้นเซลล์ที่ทำหน้าที่รับรู้เกี่ยวกับการทรง ตัว ให้ส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทที่ออกจากเซมิเซอร์คิวลาร์แคแนลไปรวมกับ เส้นประสาทของคอเคลียและออกไปรวมกับเส้นประสาทรับเสียงเพื่อนำกระแสประสาทไป ยังสมองส่วนเซรีบรัมต่อไป