ในชีวิตของคนทั่วไปจะรู้จักคนหูหนวกเพียงไม่กี่คน แต่สถิติขององค์การอนามัยโลกในปี 2550 ก็ระบุว่า ทั่วโลกมีคน 278 ล้านคนที่มีปัญหาในการได้ยิน โดยเฉพาะหนึ่งในสามของคนที่อายุเกิน 60 ปี และกว่าครึ่งของคนอายุเกิน 85 ปี มีภาวการณ์ได้ยินบกพร่อง เช่น หูตึงจนต้องใช้เครื่องขยายเสียงช่วยในการฟัง หรือได้ยินเสียงหึ่งในหูตลอดเวลา(tinnitus) ดังที่คนอเมริกัน 12 ล้านคนเป็นโรคนี้
ทั้งนี้เพราะอวัยวะภายในหูทำงานบกพร่อง หรือถูกทำลาย และแพทย์ได้พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนหูหนวกหรือหูตึงมากที่สุด คือ เซลล์ขน (hair cell) ทำงานบกพร่อง ซึ่งเซลล์ขนนี้มีจำนวนตั้งแต่ 16,000 - 30,000 เส้น โดยแต่ละเส้นยาว 0.95 มิลลิเมตร และอยู่เรียงรายภายในหูส่วนในที่มีลักษณะเป็นก้นหอย ซึ่งเรียกว่า cochlea กระบวนการได้ยินเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเสียงเดินทางผ่านหู ทำให้แก้วหูสั่นตามจังหวะคลื่นเสียง แล้วคลื่นจะถูกส่งต่อไปยัง cochlea ซึ่งเป็นท่อยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ที่ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่ และเมื่อคลื่นเสียงเดินทางไปในของเหลว เซลล์ขนที่ติดอยู่ตามผนังท่อจะโอนเอนไปมาคล้ายสาหร่าย และจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งต่อไปที่เซลล์ประสาทในสมองให้แปลความหมายของสัญญาณว่าเสียงที่ได้ ยินคือเสียงอะไร ซึ่งถ้าเซลล์ขนหรือเส้นประสาทการได้ยินได้เสียหายหรือถูกทำลายไปแล้ว จะไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่มาทดแทนของเดิมหรือซ่อมแซมได้อีก ทำให้หูหนวกอย่างถาวร
ที่ผ่านมาการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมสามารถช่วยให้คนที่สูญเสียการได้ยินหรือ
หูหนวก กลับมาได้ยินเสียงอีกครั้ง
แต่วิธีการรักษาแบบนี้รักษาได้เฉพาะผู้ที่สูญเสียเซลล์ขน (hair cell)
เท่านั้น แต่ไม่
สามารถรักษาอาการหูหนวกที่เกิดจากเส้นประสาทเสียหายหรือถูกทำลายได้
และไม่สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีเส้นประสาทการรับเสียงผิดปกติได้
ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้คิดเป็น 10 - 15% ของผู้ที่มีอาการหูหนวกทั้งหมด
แต่ปัจจุบันได้มีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์
ประเทศอังกฤษได้ทำการทดลองรักษาอาการหูหนวกของเจอร์บิล (gerbil)
ด้วยเซลล์ต้นกำเนิดของมนุษย์ (human embryonic stem cells)
ซึ่งทำได้สำเร็จ
นับว่าเป็นก้าวสำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหูหนวกที่มีสาเหตุมากจาก
เส้นประสาทเสียหายหรือถูกทำลายได้
โดย ดร. มาเซลโล ริโวลต้า
ได้ทำการทดลองกับเจอร์บิล
ที่ถูกทำให้หูหนวกด้วยการใช้ยาไปทำลายประสาทการได้ยิน
ที่ต้องทำการทดลองกับเจอร์บิลแทนหนูอย่างที่ทดลองเป็นปกติกันในห้องทดลองโดย
ทั่วไปนั้น
เนื่องจากเจอร์บิลนี้ได้ยินเสียงที่ความถี่เดียวกับที่มนุษย์ได้ยิน
ซึ่งหนูปกติที่ใช้ทดลองนั้นจะได้ยินที่ความถี่เสียงที่สูงกว่า ผลจากการทดลองเมื่อปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เข้าไปในตัวเจอร์บิลที่หูหนวกแล้ว พบว่าตัวเจอร์บิลเกือบทั้งหมดมีพัฒนาการทางการได้ยินเพิ่มขึ้นบางส่วน และหลังจากปลูกถ่ายไปแล้ว 10 สัปดาห์ พบว่าตัวเจอร์บิลมีพัฒนาการในการได้ยินที่ดีขึ้นและสามารถฟื้นฟูการได้ยินได้โดยเฉลี่ย 45%
โดยถ้าเปรียบเทียบการทดลองนี้เป็นการทดลองในมนุษย์เท่ากับว่าจากคนที่หูหนวก จนไม่สามารถได้ยินกระทั่งเสียงแตรจากรถบรรทุกบนท้องถนน ก็สามารถที่จะได้ยินบทสนทนาต่างๆได้
แต่ก็ยังมีเจอร์บิลบางตัวไม่ตอบสนองต่อการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ซึ่งผู้วิจัยได้ให้คำอธิบายไว้ว่า "การตอบสนองของเจอร์บิลหลังจากการรักษานั้นมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าสเต็มเซลล์ที่ถูกฉีดเข้าไปในส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง (cochlea) ซึ่งเป็นท่อรูปก้นหอยภายในหูจะเจริญได้ดีแค่ไหน"
ทั้งนี้ผู้วิจัยยังมีความกังวลเกี่ยวกับการนำสเต็มเซลล์มาใช้ เนื่องจากว่าความสามารถของเซลล์ต้นกำเนิด (embrionic stem cell) นั้น สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดใดก็ได้ รวมถึงการพัฒนาไปเป็น "เซลล์มะเร็ง" ซึ่งผลการทดลองกับตัวเจอร์บิลเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์นั้นยังไม่พบความผิดปกติดังกล่าว แต่ยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีกเป็นระยะเวลานานและความกังวลอีกอย่างของ ผู้วิจัยก็คือ ในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดนั้น ระบบภูมิคุ้มกันของคนไข้อาจไม่ยอมรับเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายก็เป็นได้
แต่ทั้งนี้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในสักวันหนึ่งเราจะสามารถนำสเต็มเซลล์นี้ไปรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson's) โรคเบาหวาน (diabetes) แม้กระทั่งโรคมะเร็ง (cancer) โดยใช้การศึกษาการรักษาอาการหูหนวกโดยสเต็มเซลล์เป็นพื้นฐานในการศึกษาเพื่อ รักษาโรคอื่นๆ ต่อไป
อ๊ะ !! !! แต่อย่าคิดว่าการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เป็นวิธีที่ง่ายเหมือนที่อ่านๆ กัน ขั้นตอนจริงๆ นั้น ยุ่งยากและซับซ้อน ต้องการการเอาใจใส่อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสเต็มเซลล์ที่นำมาใช้จะต้องสะอาด เติบโตได้อย่างปกติ ไม่ปนเปื้อนแบคทีเรีย หรือขั้นตอนในการฉีดสเต็มเซลล์เข้าในผู้ป่วยหรือแม้กระทั่งสัตว์ทดลองก็ตาม ก็ต้องฉีดเข้าไปที่ตำแหน่งที่ต้อง การและเหมาะสม เพื่อให้เซลล์โตไปเป็นเซลล์ที่ต้องการ โดยระหว่างนี้อาจต้องใช้ฮอร์โมน สารเคมี หรือยาต่างๆ ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งวิธีการเหล่านี้ต้องทำโดยผู้วิจัยหรือแพทย์ที่มีความชำนาญการเท่านั้น
อีกทั้งสเต็มเซลล์และผลิตภัณฑ์จากสเต็มเซลล์ทุกชนิดที่ใช้เพื่อการวินิจฉัย การรักษา หรือการป้องกันโรคของมนุษย์ จัดเป็นยาตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นสเต็มเซลล์ที่ใช้ในโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง สถานพยาบาล คลินิก หรือแม้กระทั่งการโฆษณาอวดอ้างและเชิญชวนให้ใช้บริการรักษาผู้ป่วยด้วยสเต็มเซลล์ การผลิต-นำเข้า ทั้งหมดนี้จะต้องขออนุญาตจาก อย.ก่อน ดัง นั้นก่อนที่เราจะใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการใดๆ ก็ตามควรเช็คว่าสเต็มเซลล์เหล่านั้นได้ขึ้นทะเบียนกับอย. ไว้หรือไม่เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก leaderpost.com และ nature.com
0 comments:
Post a Comment