อาการเมารถ หรือ เมาเรือ เป็นอาการที่เกิดจากระบบการทรงตัวของร่างกาย (Vestibular system) ไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงท่าทาง หรือการเคลื่อนไหวของศีรษะค่ะ
ปกติระบบการทรงตัวของร่างกาย (Vestibular system) จะทำงานประสานกันโดยรับข้อมูลทางสายตา และ หูชั้นใน (ในรูปด้านบนคือกระดูกหูชั้นในที่เป็นรูปวงแหวน 3 วง = หมายเลข 3) แล้วส่งสัญญาณไปตามเส้นประสาทเข้าสู่สมองน้อย (Cerebellum) ซึ่งเป็นตัวประมวลผลค่ะ
ขณะที่เรานั่งรถหรือเรือ สายตาเราจะเห็นภาพเคลื่อนที่ ศีรษะมีการเคลื่อนไหวไปมา ตามความขรุขระของถนน หรือความแรงของคลื่น ซึ่งส่วนนี้จะรับรู้โดยหูชั้นในที่เป็นวงแหวน ซึ่งถ้าโดยปกติเราไม่ค่อยได้นั่งรถนานๆ ไกลๆ หรือนั่งเรือบ่อยๆ หรือ คลื่นแรงมาก ระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในของเราไม่ชินกับสภาพแบบนี้ (ไม่แข็งแรงพอ) ปรับตัวได้ไม่ทัน จึงส่งสัญญาณเข้าสู่สมองได้ไม่ทันกับภาพที่เห็นทางสายตา ทำให้สมองแปรสัญญาณไม่ถูก เกิดเป็นอาการเวียน มึนงงศีรษะค่ะ (อันนี้อธิบายแบบง่ายๆ นะคะ จริงๆ มันซับซ้อนกว่านี้มากค่ะ)
เมื่อระบบสมองมึนงง ก็จะส่งสัญญาณไปที่ระบบประสาทอัตโนมัติ กระตุ้นให้รู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียน เป็นมากจนอาเจียนได้ เหงื่อออก ตัวเย็น จะเป็นลม เหล่านี้เป็นอาการที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้นค่ะ
การแก้ไข
1. การกินยาพวกดรามามีน (Dramamine) เป็นยาที่ไปกดระบบประสาท เหมือนกับเราปิดกั้นการรับรู้ของสมอง ทำให้ง่วงนอน ช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ ถ้าจะให้ได้ผล คือ ควรกินก่อนเริ่มเดินทางประมาณ 15 - 30 นาทีค่ะ
2. ยาอีกกลุ่มที่ใช้ได้ผลดี คือกลุ่ม betahistine ชื่อทางการค้าที่มีในบ้านเราคือ serc, merislon ค่ะ ควรกินก่อนเริ่มเดินทาง 15 - 30 นาทีเช่นกันค่ะ
3. ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางทางรถนานๆ หรือนั่งเรือที่มีคลื่นแรง เช่นในทะเล (แต่ถ้าทำอย่างนั้นได้ คงไม่อยู่ห้องบลูแน่ๆ) แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากต้องนั่งรถพยายามนั่งด้านหน้า หรือเป็นคนขับได้จะดีมาก เพราะด้านหน้ารถ จะถูกเหวี่ยง หรือมีความสั่นสะเทือนน้อยกว่าด้านหลัง การมองวิวด้านหน้า จะช่วยในการปรับตัวขณะรถเคลื่อนที่ แต่ถ้านั่งเรือพยายามนั่งกลางๆ เรือ จะสั่นสะเทือนน้อยกว่าด้านหน้า หลัง หรือข้างๆ (กรณีเรือลำใหญ่พอสมควร)
4. ต้องมีการฝึกระบบประสาทการทรงตัวสม่ำเสมอ เป็นประจำ ในคนที่มีอาการมาก
วิธีง่ายๆ คือ การนั่งรถระยะสั้น ทางเรียบๆ ไม่โค้งไปมามากๆ บ่อยๆ ก่อน การเดินทางไกล เพื่อให้ระบบประสาทการทรงตัวได้ฝึกปรับสมดุล
อีกวิธี คือ ฝึกบริหารปรับระบบการทรงตัวด้วยตัวเองที่บ้าน (จริงๆ มีรูปภาพประกอบจากแผ่นพับที่แจกคนไข้ค่ะ แต่ตอนนี้ไม่มีในคอมพ์ จะแอดเพิ่มให้ภายหลังค่ะ) ต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ จนกว่าอาการเมารถง่ายจะดีขึ้นค่ะ
5. วิธีอื่นๆ เช่น การใช้แผ่นแปะบรรเทาปวด แปะที่สะดือ อย่างที่ความเห็นด้านบนบอก ช่วยได้ในกรณีที่คลื่นไส้ เนื่องจากแผ่นแปะบรรเทาปวด ตัวยาจะซึมเข้าไปที่ใต้ผิวหนังบริเวณท้อง ทำให้กดประสาทการตอบสนองที่อยู่บริเวณท้อง ดังนั้นเมื่อระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้น หลั่งสารมากระตุ้นประสาทที่ท้อง จะถูกบล็อค (ตัดการรับรู้) จากตัวยาที่ซึมเข้ามากดการรับรู้ของประสาท จึงคลื่นไส้น้อยลง หรือไม่คลื่นไส้ค่ะ แต่จะยังคงรู้สึกมึนงง เวียนศีรษะค่ะ
วิธีการฝึกการบริหารการทรงตัวให้ค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ
Friday, May 24, 2013
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Popular Posts
-
อาการเมารถ หรือ เมาเรือ เป็นอาการที่เกิดจากระบบการทรงตัวของร่างกาย (Vestibular system) ไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงท่าทา...
-
หู หูเป็นอวัยวะที่ช่วยให้คนเราได้ยินเสียงต่างๆ และเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวกับการทรงตัวของร่างกายขณะร่างกายเคลื่อนไหว ส่วนประ...
-
หูกับการได้ยิน หูของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งรวมถึงมนุษย์เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ 2 ประการ ซึ่งก็คือ 1. การได้ยินหรือการรับฟังเสียง (Phonor...
-
โดยส่วนตัวที่เป็นหมอ เรื่องอาการปวดหูหลังนั่งเครื่องบินมีคนถามกันมาก จึงขอใช้พื้นที่ของห้องนี้อธิบายนะคะ รูปนี้เป็นรูป ส่วนประกอบต่างๆ ของ...
-
รักษาหูหนวก...ด้วยสเต็มเซลล์ ในชีวิตของคนทั่วไปจะรู้จักคนหูหนวกเพียงไม่กี่คน แต่สถิติขององค์การอนามัยโลกในปี 2550 ก็ระบุว่...
-
หูกับการได้ยิน หูเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่ทำหน้าที่ทั้งการได้ยินเสียง และการทรงตัว หูของคนแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือหูส่วนนอก หูส่วนกลางและห...
-
8 วิธีแก้เมารถ ง่ายๆ สำหรับบางคน ไปเที่ยวแล้วเมาเหล้า ไม่เศร้าเท่าเมารถ! อาการเมารถ หรือ เมาเรือ เกิดจากประสาทการทรงตัวไม่สมดุล เนื่อ...
Categories
- เจ็บหู (1)
- เมารถเมาเรือ (2)
- รักษาหูหนวก (1)
- หู (1)
- หูกับการได้ยิน (2)
0 comments:
Post a Comment